November 6, 2024
Bangkok, Thailand
ผู้หญิง

ปวดประจำเดือนเกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน จะบรรเทาด้วยวิธีใดได้บ้าง ?

ปวดประจำเดือน มีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น การหดตัวของมดลูก การฉีดยาควบคุมการตั้งครรภ์ หรือการเกิดความผิดปกติที่มดลูก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับรอบเดือนของสาว ๆ มักจะเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการมีประจำเดือน บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และอาการเจ็บปวดที่จุดต่าง ๆ ในร่างกายร่วมด้วย

ปวดประจำเดือน มักมีอาการดังนี้

ปวดเฉียบพลัน

หรือปวดแบบต่อเนื่องบริเวณท้องน้อย

มักจะมีอาการปวดหัว

ปวดหลัง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีความอยากอาหาร ท้องผูก หรือคลื่นไส้/อาเจียนในรายที่มีอาการปวดรุนแรง

มีการเปลี่ยนแปลงในด้านอารมณ์

ไม่ว่าจะเป็นความสับสน ความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงอาการนอนไม่หลับในบางราย

อาการปวดมักจะเริ่มในช่วง 1-2 วัน

ก่อนการมีประจำเดือน และอาจต่อเนื่องถึงวันที่สามของการมีประจำเดือน

ส่งผลถึงกระทบต่อความสามารถในการทำงาน

บางครั้งถึงขั้นส่งผลถึงกระทบต่อความสามารถในการทำงาน หรือการเข้าร่วมกิจกรรมโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน

การรักษาและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

การใช้ยาที่มีฮอร์โมนและยาแก้ปวด

1. ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอรอน
เช่น ยาคุมแบบเจ็ดวันหยุด จะทำให้ระดับฮอร์โมนสมดุลขึ้น ช่วยลดการหดตัวของมดลูก และลดปริมาณเลือดที่หลั่งในระหว่างวัน

2. ยาแก้ปวดทั่วไป
สามารถบรรเทาอาการในรายที่ปวดเล็กน้อยให้ดีขึ้นได้

3. ยาแก้ปวดประเภทไม่สเตียรอยด์
จะออกฤทธิ์ลดปริมาณสารเคมีในร่างกายที่ก่อให้เกิดการอักเสบและอาการปวด ช่วยลดการหดตัวของมดลูก ที่เป็นสาเหตุของปวดประจำเดือนในรายที่มี ใช้ในรายที่มีอาการปวดปานกลาง-รุนแรง โดยอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์

ปรับเปลี่ยนสไตล์การดำรงชีวิต

การปรับเปลี่ยนแบบการกินเช่น ลดอาหารที่มีไขมัน เน้นการทานผัก ผลไม้ และแป้งเตรียมที่มาจากข้าวโพด ข้าวฟ่าง และข้าวขาวมีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้อีกทางหนึ่ง

การใช้ความร้อน

การใช้ถุงน้ำร้อน หรือแผ่นประคบร้อน ในบริเวณท้องน้อยหรือหลังส่วนล่าง สามารถช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี วิธีนี้ถือว่าง่าย ปลอดภัย และไร้ผลข้างเคียง

การออกกำลังการและฝึกสมาธิ

การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายหลั่งสารอินดอร์ฟิน ซึ่งทำหน้าที่ลดความรู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ การฝึกหายใจลึก และโยคะ ยังลดความเครียดและทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

สรุป

แม้ว่าการศึกษาอาการปวดประจำเดือน และบรรเทาอาการดังกล่าว จะช่วยให้เราเข้าใจถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดที่รุนแรง หรือรู้สึกถึงความผิดปกติที่มากขึ้น สาว ๆ ควรเข้ารับการตรวจ และปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างทันท่วงที เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และปลอดภัยโดยเร็วที่สุด