ตะคริว คือ อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่ตั้งใจ และมักเกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดน้ำ,ใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป,ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ,ความเย็นหรืออากาศหนาว เพราะอากาศเย็นทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและเกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น ,ผลข้างเคียงจากโรคหรือยา และการขาดวิตามิน เชื่อได้เลยว่าต้องมีหลายคนที่อยากจะรู้ ถ้าเป็นตะคริวบ่อย ขาดวิตามินอะไรบ้างนั้นตามมาดูกันเลย
การเป็นตะคริวบ่อยเกิดจากการขาดวิตามิน หรือแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
- แมกนีเซียม (Magnesium) – ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
- โพแทสเซียม (Potassium) – ช่วยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- แคลเซียม (Calcium) – ช่วยป้องกันการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- โซเดียม (Sodium) – ควบคุมสมดุลน้ำและไฟฟ้าในร่างกาย
อาการของตะคริว
- กล้ามเนื้อหดเกร็งและแข็งตัว – รู้สึกปวดอย่างรุนแรงในบริเวณที่เป็น
- มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน – โดยเฉพาะตอนออกกำลังกายหรือขณะนอนหลับ
- อาจใช้เวลาหลายวินาทีกว่าจะหาย – บางครั้งอาจนานเป็นนาที
- หลังจากหายแล้ว อาจรู้สึกปวดหรือเมื่อย – บริเวณที่เป็นตะคริวอาจยังรู้สึกตึงหรือปวดเล็กน้อย
วิธีป้องกันตะคริว
อาหารที่ช่วยลดตะคริว
แมกนีเซียม → กล้วย, อะโวคาโด, ถั่วต่าง ๆ, เมล็ดฟักทอง, ผักโขม
โพแทสเซียม → กล้วย, มะเขือเทศ, มันฝรั่ง, แตงโม, ส้ม
แคลเซียม → นม, โยเกิร์ต, ชีส, เต้าหู้, ผักใบเขียว
โซเดียม → เกลือ (ในปริมาณที่เหมาะสม), อาหารทะเล
ปรับพฤติกรรม
ดื่มน้ำให้เพียงพอ – อย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร
ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย – ป้องกันการหดเกร็ง
หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมนานเกินไป – ควรขยับร่างกายบ่อย ๆ
ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย – อากาศหนาวอาจทำให้กล้ามเนื้อหดตัวง่าย
ลดการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน – เพราะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
สรุป แม้ตะคริวจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก หรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือขาดแร่ธาตุวิตามิน แต่หากเรารู้วิธีรับมือและวิธีการป้องกันที่ถูกต้องก็จะลดโอกาสการเกิดตะคริว และการเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเมื่อเกิดตะคริวได้